วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บำรุงทั้ง ปอด ตับ ลำไส้ และถุงน้ำดี -หญ้าลิ้นงู

สมุนไพรดีดี ยาตำรับโบราณ ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 3 รูป — กับ เนาวรัตน์ ติสนธิ

หญ้าลิ้นงู
สุดยอดหญ้าบำรุงทั้ง ปอด ตับ ลำไส้ และถุงน้ำดี และอีกเยอะ “ข้อบอก”
แก้โรคทางเดินหายใจ ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม คางทูม
แก้ระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคบิด ท้องผูก
แก้โรคทาง เดินปัสสาวะอักเสบ
ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ
หญ้าลิ้นงู ชื่อวิทยาศาสตร์ Oldenlandia corymbosa L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedyotis corymbosa Lamk.) จัดอยู่ในวงศ์ RUBIACEAE
สมุนไพรหญ้าลิ้นงู ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า จุ่ยจี้เช่า จั่วจิเช่า (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยเฉียบฉ่าว สุ่ยเซี่ยนเฉ่า เสอเสอเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของหญ้าลิ้นงู
• ต้นหญ้าลิ้นงู จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กคลุมดิน มีอายุได้ประมาณ 1 ปี มีลำต้นเลื้อยยาวเป็นข้อๆ ประมาณ 6-10 นิ้ว มียอดสูงประมาณ 15-50 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเล็กยาว เรียบเกลี้ยงเป็นเหลี่ยม ระหว่างข้อมีร่องเล็กๆ ตามความยาวของลำต้น แตกกิ่งก้านสาขาออกมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ชื่นแฉะ พบได้ในภูมิอากาศเขตร้อนถึงร้อนชื้นของประเทศในแถบแอฟริกา เอเชีย แคริบเบียน อเมริกา ออสเตรเลีย และแปซิฟิก

สรรพคุณและวิธีใช้
1. ทั้งต้นมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และลำไส้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)[2]
2. ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ต้น,ทั้งต้น)[1]
3. ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ มะเร็งในลำไส้ ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ต้น,ทั้งต้น)
4. ช่วยแก้ฝีในท้อง ด้วยการใช้หญ้าลิ้นงูประมาณ 20-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ทั้งต้น)
5. ช่วยรักษาบำบัดอาการหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคบิด ท้องผูก และยังช่วยในการย่อย และช่วยทำให้เจริญอาหารได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
6. ใช้ฆ่าพยาธิ (ทั้งต้น)
7. ช่วยปกป้องตับ (ทั้งต้น)
8. ช่วยขจัดสารพิษ (ทั้งต้น)
9. ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างแผลฝีบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ต้น,ทั้งต้น)
10. ใช้เป็นยารักษาฝีปวดบวม ด้วยการใช้หญ้าลิ้นงูสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี (ทั้งต้น)
11. ในประเทศจีนจะใช้หญ้าริ้นงูเป็นยารักษาเนื้องอกบางชนิด (ทั้งต้น)
12. ชาวอินเดียจะใช้หญ้าลิ้นงูทั้งต้มนำมาต้มในนมกับน้ำตาลเพื่อใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกอันเนื่องมาจากกรดไหลย้อน และยังใช้เพื่อรักษาโรคตับอักเสบด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกิน (ทั้งต้น)
13. ชาวฟิลิปปินส์จะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ทั้งต้น)
14. ชาวอินโดนีเซียจะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)
15. เนื่องจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพและโปรโตซัว จึงมีการนำมาใช้เพื่อรักษาโรคที่มีอาการอักเสบและติดเชื้อ เช่น คางทูม ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน
16. โรคทาง เดินปัสสาวะอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ และใช้ฆ่าพยาธิ เป็นต้น (ทั้งต้น)

หมายเหตุ : วิธีการใช้สมุนไพรหญ้าลิ้นงูตาม หากไม่ได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้หญ้าลิ้นงูแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าลิ้นงู
• สารที่พบ ได้แก่ Corymbosin, Flavone, Fatty acid, Sterol, Ursolic acid เป็นต้น
• สาร Ursolic acid ในหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการปกป้องตับ โดยสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของยาพาราเซตามอลที่นำมาทดสอบในหนูทดลองได้
• จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการปกป้องตับจากการถูกทำลายของสารเคมีต่างๆ ได้แก่ Carbon tetrachloride, D-Galatosamine, Perchloroethylene โดยคุณสมบัติดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับยา Silymarin
• หญ้าลิ้นงูมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ และมีประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียได้หลากหลายสายพันธุ์, ต้านยีสต์ (เช่น ยีสต์แคนดิดา), ต้านรา (เช่น ราแอสเปอร์จิลัส), ต้านโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้มาลาเรีย (ภายหลังจึงได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาไข้มาลาเรีย)
• จากการศึกษาในหลอดทดลองว่าสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งเต้านม
• หญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาการเกิดในกระเพาะอาหารในหนูทดลองที่ได้รับยาแอสไพริน โดยมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาแลนโซปราโซล (Lansoprazole)
• หญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดได้
• หญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติต้านการอักเสบในสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ


วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นอน เกิดโรค

นอนก่อโรค:
ใช้หมอนสูงหนุนศีรษะถือว่า "นอนหักคอตัวเอง" หมอนสุขภาพไม่มีในโลก อย่าหลงเชื่อซื้อมาใช้ เหตุเมื่อเรานอนหลับร่างกายเราจะพลิกท่านอนไปทางไหนก็ได้ เราหลับเราไม่รู้ หมอนประเภทนี้จะล็อคคอไว้
ใช้ไปนานๆ จะทำให้กระดูกต้นคอเสียสมดุล หมอนที่ดีต้องไม่นิ่มเกินไป ไม่เช่นนั้นศีรษะจะฝังตัว หรือไม่แข็งเกินไป การนอนบนที่นอนนิ่มมากไปก็ไม่ดี ก้นจะพากระดูกยุบตัว
กระดูกจะเสียสมดุล แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำตัวสุดโต่งโดยหันไปนอนบนกระดานแข็งแทน อันนี้ถือว่าทำตัวตึงไป

ผู้ที่ชอบนอนตะแคงหากนอนไม่เป็นจะทำให้เกิดเจ็บป่วยได้ เช่น นอนตะแคงซ้าย ถ้าท่านเป็นผู้ที่เอวหนาร่างใหญ่ พบว่าเข่าด้านบนหรือเข่าด้านขวาแทงเป็นหัวลูกศรลงไป เป็นเหตุทำให้ดึงสะโพก ถ้านอนเช่นนี้นานๆ เป็นนิสัยจะส่งผลให้เจ็บที่ใต้ราวนม หายใจไม่ค่อยออกเพราะช่วงลำตัวบิดอันเนื่องจากน้ำหนักและขนาดลำตัวที่มากนั่นเอง

การนอนด้วยท่าใดติดต่อกันนานๆ
ทั้งคืนถือว่านอนก่อโรคเช่นกัน สังเกตไหมวันใดที่ท่านเพลียเหนื่อยมาก ท่านมักนอนด้วยท่าเดียวท่านั้นนานๆ ไปทั้งคืน แต่ถ้าร่างกายไม่เพลียก็มักเปลี่ยนท่านอนได้บ่อยหลายท่า ท่านอนที่ดีช่วยให้ร่างกายรับอากาศเต็มที่ ตื่นมาสดชื่น
การจะหายใจนำอากาศให้เข้าสู่ปอดเต็มทั้ง 5 พู (ปอดด้านซ้ายมี
3 พู ด้านขวามี 2 พู รวม 5 พู)
ปอดพูสุดท้ายของด้านซ้ายลึกลงไปสุด (พูที่ 3) น้อยมากที่เราหายใจลงไปถึงพูนี้ (ถ้าท่านไม่ค่อยออกกำลังกายหรือไม่เล่นกีฬา) นี่แหละที่
เขาเรียกกันว่า "หายใจไม่ทั่วปอด"
หรือ "หายใจไม่อิ่ม" เมื่อตื่นขึ่นมาก็จะไม่สดชื่น ง่วงนอนตอนสายๆ


กินกาแฟให้ปลอดภัย

ทุกวันที่ตื่นนอนตอนเช้าแต่กลับใช้ชีวิตให้ตายเร็ว :
แหกขี้ตาตื่นนอนตอนเช้าแต่ละวัน ชงกาแฟดื่มแทนอาหารเช้าทุกวัน
ดื่มกาแฟตอนเช้าไม่ดี เพราะจะทำให้ก้านสมองแห้ง ส่งผลให้การสื่อสารของกระแสประสาทสั่งงานผิดปกติ หัวใจทำงานหนัก ในกระเพาะอาหารมีความเป็นกรดสูงยิ่งขึ้น นานวันอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุได้
แต่การดื่มกาแฟหลังอาหารเช้า/เที่ยง พอมีประโยชน์ ถือว่าเป็นการดื่มกาแฟถูกที่ถูกเวลา การดื่มกาแฟหลังอาหารเป็นการช่วยย่อยอาหารได้ทางหนึ่ง ฤทธิ์ของคาเฟอีนในกาแฟไปกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดโลหิตได้เพิ่มขึ้น ช่วยทำให้โลหิตไปเลี้ยงกระเพาะอาหารได้มากขึ้น จึงช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารเป็นไปด้วยดียิ่งขึ้น


ขมิ้น กินอย่างไรปลอดภัย

ควรกินขมิ้นในรูปแบบอาหารที่เป็นของร้อน คนสมัยก่อนใช้ขมิ้นชันสมานลำไส้และกระเพาะอาหาร เขานำขมิ้นมาตากแดด เมื่อแห้งจึงนำมาบดเป็นผงนำไปใช้งาน แต่ปัจจุบันใช้วิธีอบด้วยเตาอบ/ตู้อบที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้ยางในเปลือกขมิ้นกลายสภาพเป็นยางเหนียว สุดท้ายแห้งและถูกบดไปในที่สุด เมื่อนำมากินจะเป็นอันตรายต่อลำไส้เพราะยางเหนียวที่ว่านี้ไปเกาะที่ผนังลำไส้ นานไปทำให้ลำไส้อุดตัน และหากกินนานต่อเนื่องเป็นปีพบว่ามีอาการตัวเหลืองถึงขั้นตับวายเลยทีเดียว


นมข้น อันตราย

เชื่อหรือไม่ว่า นมข้นหวานมีขายที่เมืองไทยชาติเดียวในโลก แล้วก็แพร่กระจายไปยังประเทศข้างเคียง
ขอเรียนว่านมข้นหวานไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเลยสักนิด แถมไม่ใช่อาหารที่ทำมาจากนมตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน
แต่ส่วนประกอบหลักคิอน้ำมันพืช
ผสมน้ำตาลทราย นมข้นหวานจึงอุดมไปด้วยน้ำตาลและไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารที่เกือบไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเลย อีกทั้งเป็นต้นตอของโรคภัยอื่นตามมาอีกมาก